(ฝรั่งเศส: Français) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส[ต้องการอ้างอิง] ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน[ต้องการอ้างอิง]
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย
ประวัติ
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ
หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุงโรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวโกล
ยุคอาณาจักรแฟรงก์[แก้]
หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษากลุ่มเจอร์เมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ราว ๆ ร้อยละ 60
นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก
Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl
ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่
นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ คือ "คำปฏิญาณแห่งสตราสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385
ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่างๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Richelieu) ได้ก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า L'Académie Française (อากาเดมี ฟรองแซส หรือ วิทยสถานแห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเปรียบได้กับราชบัณฑิตยสถานของไทย) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดี
ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส[แก้]
ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา[แก้]
ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียวของรัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์
ภาษาฝรั่งเศสในโลก
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการในประเทศต่อไปนี้
ประเทศ | ผู้ที่พูดเป็นภาษาแม่ (โดยประมาณ) | ประชากร (โดยประมาณในเดือนกรกฎาคม 2546) | ความหนาแน่นของประชากร (จำนวนคนต่อตารางกิโลเมตร) | พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) | |
---|---|---|---|---|---|
ฝรั่งเศส | 52,100,000 | (% from 2542) | 60,656,178 | 110.9 | 547,030 |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก | ? | 60,085,004 | 25.62 | 2,345,410 | |
แคนาดา | 6,700,000 | (2541) | 32,805,041 | 3.29 | 9,984,670 |
มาดากัสการ์ | 18,000 | (2536) | 18,040,341 | 30.73 | 587,040 |
โกตดิวัวร์ | 17,470 | (2531) | 17,298,040 | 53.64 | 322,460 |
แคเมอรูน | ? | 16,380,005 | 34.45 | 475,440 | |
บูร์กินาฟาโซ | ? | 13,925,313 | 50.79 | 274,200 | |
มาลี | 9,000 | (2536) | 12,291,529 | 9.91 | 1,240,000 |
ไนเจอร์ | 6,000 | (2536) | 11,665,937 | 9.21 | 1,267,000 |
เซเนกัล | ? | 11,126,832 | 56.71 | 196,190 | |
เบลเยียม | 3,800,000 | (% from 2503) | 10,364,388 | 339.5 | 30,528 |
ชาด | 3,000 | (2539) | 9,826,419 | 7.65 | 1,284,000 |
รวันดา | 2,400 | (2547) | 8,440,820 | 320.5 | 26,338 |
เฮติ | 600 | (2547) | 8,121,622 | 292.7 | 27,750 |
สวิตเซอร์แลนด์ | 1,300,000 | (2533) | 7,489,370 | 181.4 | 41,290 |
เบนิน | 16,700 | (2536) | 7,460,025 | 66.24 | 112,620 |
บุรุนดี | 2,200 | (2547) | 6,370,609 | 228.9 | 27,830 |
โตโก | 3,500 | (2536) | 5,681,519 | 100.1 | 56,785 |
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง | 9,000 | (2539) | 3,799,897 | 6.10 | 622,984 |
สาธารณรัฐคองโก | 28,000 | (2539) | 3,039,126 | 8.89 | 342,000 |
กาบอง | 37,500 | (2536) | 1,389,201 | 5.19 | 267,667 |
มอริเชียส | 37,000 | (2544) | 1,230,602 | 603.2 | 2,040 |
เรอูว์นียง (ฝรั่งเศส) | 2,400 | (2536) | 776,948 | 308.7 | 2,517 |
คอโมโรส | 1,700 | ? | 671,247 | 309.3 | 2,170 |
อิเควทอเรียลกินี | — | 535,881 | 19.10 | 28,051 | |
จิบูตี | 15,440 | (2531) | 476,703 | 20.73 | 23,000 |
ลักเซมเบิร์ก | 13,100 | (2536) | 468,571 | 181.2 | 2,586 |
กัวเดอลุป (ฝรั่งเศส) | 7,300 | (2547) | 448,713 | 252.1 | 1,780 |
มาร์ตีนิก (ฝรั่งเศส) | 9,000 | (2547) | 432,900 | 393.5 | 1,100 |
เฟรนช์โปลินีเซีย (ฝรั่งเศส) | 25,668 | (2543) | 270,485 | 64.91 | 4,167 |
นิวแคลิโดเนีย (ฝรั่งเศส) | 53,400 | (2530) | 216,494 | 11.36 | 19,060 |
วานูอาตู | 6,300 | (2530) | 205,754 | 16.87 | 12,200 |
เฟรนช์เกียนา (ฝรั่งเศส) | ? | 195,506 | 2.15 | 91,000 | |
เซเชลส์ | 971 | (2514) | 81,188 | 178.4 | 455 |
โมนาโก | 17,400 | (2531) | 32,409 | 16,620 | 1.95 |
หมู่เกาะวาลลิสและหมู่เกาะฟุตูนา (ฝรั่งเศส) | 120 | (2536) | 16,025 | 58.49 | 274 |
เจอร์ซีย์ (สหราชอาณาจักร) | 8,000 | (2519) | 90,812 | 782.9 | 116 |
เกิร์นซีย์ (สหราชอาณาจักร) | 6,000 | (2519) | 65,228 | 836.3 | 78 |
แซงปีแยร์และมีเกอลง (ฝรั่งเศส) | 5,114 | (2510) | 7,012 | 28.98 | 242 |
พอนดิเชอร์รี (อินเดีย) | ? | 973,829 | 2,029 | 492 | |
ภาษาฝรั่งเศสไม่ใช่ภาษาทางการ แต่เป็นภาษาสำคัญในประเทศต่อไปนี้ | |||||
ประเทศ | ผู้ที่พูดเป็นภาษาแม่ (โดยประมาณ) | ประชากร (โดยประมาณในเดือนกรกฎาคม 2546) | ความหนาแน่นของประชากร (จำนวนคนต่อตารางกิโลเมตร) | พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) | |
โมร็อกโก | 80,000 | (2528) | 32,725,847 | 73.29 | 446,550 |
แอลจีเรีย | 110,000 | (2536) | 32,531,853 | 13.66 | 2,381,440 |
ตูนิเซีย | 11,000 | (2536) | 10,074,951 | 61.58 | 163,610 |
ลุยเซียนา (สหรัฐอเมริกา) | 261,678 | (2536) | 4,468,976 | 39.61 | 134,382 |
เลบานอน | 16,600 | (2547) | 3,826,018 | 367.9 | 10,400 |
แอออสตาวัลเลย์ (อิตาลี) | 100,000 | (2530) | 118,548 | 36.33 | 3,263 |
อันดอร์รา | 2,400 | (2529) | 70,549 | 150.7 | 468 |
นอกจากนี้ ยังมีผู้พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศเหล่านี้ | |||||
ประเทศ | ผู้ที่พูดเป็นภาษาแม่ (โดยประมาณ) | ประชากร (โดยประมาณในเดือนกรกฎาคม 2546) | ความหนาแน่นของประชากร (จำนวนคนต่อตารางกิโลเมตร) | พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) | |
อียิปต์ | ? | 77,505,756 | 77.39 | 1,001,450 | |
กัมพูชา | ? | 13,607,069 | 75.16 | 181,040 | |
กรีซ | ? | 10,668,354 | 80.86 | 131,940 | |
สาธารณรัฐเช็ก | ? | 10,241,138 | 129.9 | 78,866 | |
อิสราเอล | ? | 6,276,883 | 302.2 | 20,770 | |
ลาว | ? | 6,217,141 | 26.25 | 236,800 | |
มอริเตเนีย | ? | 3,086,859 | 2.99 | 1,030,700 | |
ฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา) | 337,605 | (2543) | - | - | - |
นิวอิงแลนด์ (สหรัฐอเมริกา) | 320,924 | (2543) | - | - | - |
นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา) | 295,556 | (2543) | - | - | - |
แคลิฟอร์เนีย (สหรัฐอเมริกา) | 139,174 | (2543) | - | - | - |
นิวเจอร์ซีย์ (สหรัฐอเมริกา) | 76,008 | (2543) | - | - | - |
เทกซัส (สหรัฐอเมริกา) | 65,778 | (2543) | - | - | - |
เพนซิลเวเนีย (สหรัฐอเมริกา) | 52,517 | (2543) | - | - | - |
แมริแลนด์ (สหรัฐอเมริกา) | 49,560 | (2543) | - | - | - |
จอร์เจีย (สหรัฐอเมริกา) | 48,391 | (2543) | - | - | - |
โอไฮโอ (สหรัฐอเมริกา) | 45,015 | (2543) | - | - | - |
อิลลินอยส์ (สหรัฐอเมริกา) | 44,847 | (2543) | - | - | - |
เวอร์จิเนีย (สหรัฐอเมริกา) | 42,782 | (2543) | - | - | - |
มิชิแกน (สหรัฐอเมริกา) | 39,657 | (2543) | - | - | - |
นอร์ทแคโรไลนา (สหรัฐอเมริกา) | 34,642 | (2543) | - | - | - |
วอชิงตัน (สหรัฐอเมริกา) | 22,701 | (2543) | - | - | - |
มิสซูรี (สหรัฐอเมริกา) | 20,203 | (2543) | - | - | - |
เซาท์แคโรไลนา (สหรัฐอเมริกา) | 19,359 | (2543) | - | - | - |
อินดีแอนา (สหรัฐอเมริกา) | 18,362 | (2543) | - | - | - |
โคโลราโด (สหรัฐอเมริกา) | 18,317 | (2543) | - | - | - |
เทนเนสซี (สหรัฐอเมริกา) | 18,067 | (2543) | - | - | - |
มินนิโซตา (สหรัฐอเมริกา) | 16,085 | (2543) | - | - | - |
แอริโซนา (สหรัฐอเมริกา) | 15,868 | (2543) | - | - | - |
วิสคอนซิน (สหรัฐอเมริกา) | 15,120 | (2543) | - | - | - |
แอละแบมา (สหรัฐอเมริกา) | 13,895 | (2543) | - | - | - |
เคนทักกี (สหรัฐอเมริกา) | 12,780 | (2543) | - | - | - |
ออริกอน (สหรัฐอเมริกา) | 12,123 | (2543) | - | - | - |
มิสซิสซิปปี (สหรัฐอเมริกา) | 10,968 | (2543) | - | - | - |
รัฐอื่น ๆ (สหรัฐอเมริกา) | 92,118 | (2543) | - | - | - |
ยังพอมีผู้พูดภาษาฝรั่งเศสเหลืออยู่บ้างในประเทศเหล่านี้ | |||||
ประเทศ | ผู้ที่พูดเป็นภาษาแม่ (โดยประมาณ) | ประชากร (โดยประมาณในเดือนกรกฎาคม 2546) | ความหนาแน่นของประชากร (จำนวนคนต่อตารางกิโลเมตร) | พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) | |
รัสเซีย | ? | 143,420,309 | 8.40 | 17,075,200 | |
ฟิลิปปินส์ | ? | 87,857,473 | 292.9 | 300,000 | |
เวียดนาม | ? | 83,535,576 | 253.5 | 329,560 | |
ซาอุดิอาระเบีย | ? | 26,417,599 | 13.47 | 1,960,582 | |
เครือรัฐเปอร์โตริโก (สหรัฐอเมริกา) | ? | 3,916,632 | 430.2 | 9,104 | |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | ? | 2,563,212 | 30.93 | 82,880 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น